วัฒนธรรม
มีความหมายที่กว้างขวาง ครอบคลุมถึงรูปแบบการดำรงชีวิต ความคิด ปรัชญา ความเชื่อต่าง ๆ ที่คนกลุ่มหนึ่งมีความเป็นกลุ่มร่วม
กันตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน ประเทศ ไปถึงระดับภูมิภาคและระดับ สากลนานาชาติ ในความหมายที่แคบลงกว่านั้น หมายถึง
การแสดงท ี่เป็นสิ่งซึ่งแสดงลักษณะ ทางวัฒนธรรม ของกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกในรูปแบบใด เช่น จิตรกรรมสถาปัตยกรรม
ดนตรีซึ่งอาจเรียกรวม ๆกันเป็นศิลปะทั้งเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยและประโยชน์ในการจรรโลงใจ วัฒนธรรมมีการเปลี่ยนแปลง
และการถ่ายทอดต่อกันได้ ด้วยตระหนักและสำนึกในคุณค่าสังคมที่ประกอบไปด้วยสมาชิกที่มีวัฒนธรรม จึงน่าจะเป็นสังคมที่น่า
อยู่กว่าการจัดการทางวัฒนธรรม มีความหมายที่เจาะจง คือการบริหารจัดการกิจกรรม ศิลปะและวัฒนธรรมต่าง ๆ อย่างมีประ
สิทธิภาพ เพื่อพัฒนาจิตใจและสำนึกในการดำรงอยู่ของมนุษย์การปล่อยปละละเลยวัฒนธรรมเป็นไปตามครรลองของธรรมชาติ
หรือการคำนึงถึงเฉพาะประโยชน์ทางการค้าอาจมีผลเสีย วัฒนธรรมอย่างประเมินค่ามิได้การจัดการทางวัฒนธรรมจึงเป็นองค
์
ค
วามรู้ใหมที่อยู่ในความสนใจของภาครัฐและเอกชนต่างๆ
ที่สนใจและมีความรับผิดชอบทางวัฒนธรรมการศึกษาและการบันเทิงซึ่งกล่อมเกลาจิตใจของสาธารณชนและเยาวชนที่จะเติบโต
ขึ้นมาเป็นผู้ที่มีสำนึกและความรับผิดชอบในสังคมโดยที่ประเทศไทยปัจจุบัน มีการพัฒนาอย่างกว้างขวางทั้งทางด้านเศรษฐกิจ
สังคมและวัฒนธรรม แบบแผนการดำรงชีวิตของประชาชนได้เปลี่ยนแปลง ไปจากเดิมอย่างมาก การแสดงออกทางด้านศิลปวัฒน
ธรรมได้มีการพัฒนาควบคู่กันไปกับการเปลี่ยนแปลงทาง ด้านสังคมและเศรษฐกิจ อีกทั้งยังเป็นกิจกรรมเศรษฐกิจที่สร้างรายได้
ให้ประเทศและการจ้างงานในระบบเศรษฐกิจ เช่น อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบันเทิงที่เกี่ยวเนื่องกับวัฒนธรรม
อย่างกว้างขวางและเป็นประเด็นสำคัญในการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเช่น วัฒนธรรมมีความสัมพันธ์กับการ
เปลี่ยนแปลงทาง สังคมเศรษฐกิจการเมืองการปกครองอย่างไร และในเชิงนโยบาย ควรมีการพัฒนาทางศิลปวัฒนธรรม
อย่างไรจึงจะสอดคล้องกับเอกลักษณ์ของความเป็นไทยในยุคของการไปสู่ความเป็นสากลและเงื่อนไขต่าง ๆ ของการพัฒนา
อย่างยั่งยืน เป็นต้นในปัจจุบันประเทศไทยมีความต้องการบุคลากรทางด้านการจัดการทางวัฒนธรรมมากแต่ยังไม่มีสถาบัน
ใดที่เปิดสอน สาขาวิชาดังกล่าวโดยตรง ในขณะที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีความพร้อมที่จะจัดการเรียนการสอนในสาขา
วิชานี้ได้เป็นอย่างดี สามารถตอบสนองต่อความต้องการของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในระดัภูมิภาค ระดับชาติ และระดับบุคคล
ที่รับผิดชอบต่องานด้านการอนุรักษ์และพัฒนาศิลปวัฒนธรรม จึงมีความจำเป็นเร่ง ด่วนเพื่อเปิดหลักสูตร ศิลปศาสตร
มหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการทางวัฒนธรรม หลักสูตรนี้รับผู้สำเร็จการศึกษาจากปริญญาตรีที่มีประสบการณ์ในการ
ทำงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทางวัฒนธรรมได้อย่างม ีประสิทธิภาพมากขึ้น ตัวอย่างเช่น เป็นผู้จัดการบริษัทจัดกา
รแสดง
นาฏยศิลป์ บริหารวงดนตรีและการแสดงคอนเสิร์ต การจัดการธุรกิจเชิงนิเวศน์ และธุรกิจหอแสดงภาพ เป็นต้น
|
|
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถด้านการจัดการทางวัฒนธรรมมีความสามารถในการประยุกต์ความรู้ด้านการ
จัดการทางวัฒนธรรมเพื่อประกอบอาชีพทางการท่องที่ยวทางวัฒนธรรม การจัดเทศกาล
- การจัดนิทรรศการ การจัดการหอศิลป์ การจัดการพิพิธภัณฑ์ และการจัดการแสดง
- เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางการบริหารจัดการวัฒนธรรม
ภาวะความต้องการบัณฑิต ปัจจุบันหน่วยงานทางวัฒนธรรมต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน มีความต้องการผู้มีคุณวุฒิความรู้ความสามารถทาง
การจัดการทางวัฒนธรรม ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศเป็นจำนวนมาก ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยม
ีความ
พร้อมที่จะจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชานี้ได้เป็นอย่างดี สามารถตอบสนองต่อความ ต้องการของหน่วยงานต่าง ๆ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย
คือ บุคลากรกระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนในการเปิดหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทางวัฒนธรรม(สหสาขาวิชา) เพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าว |
|
ระบบการศึกษา
ใช้ระบบการศึกษาแบบหน่วยกิต เป็นแบบทวิภาค ปีการศึกษาหนึ่งๆ แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษา
คือภาคการศึกษาต้น และภาคการศึกษาปลาย และอาจมีภาคฤดูร้อนต่อจากภาคการศึกษาปลายอีกหนึ่งภาคก็ได้
ภาคการศึกษาหนึ่งๆ มีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ ส่วนภาคฤดูร้อนมีระยะเวลาการศึกษาประมาณ 6-8 สัปดาห์
ระยะเวลาการศึกษา เป็นหลักสูตร 3 ปี มีระยะเวลาการศึกษาไม่เกิน 4 ปีการศึกษา นับจากภาคการศึกษาแรกที่รับเข้าศึกษาในหลักสูตร
การลงทะเบียนเรียน ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต และไม่เกิน 15 หน่วยกิต ในแต่ละภาคการศึกษา ส่วนภาคฤดูร้อนไม่เกิน 6 หน่วยกิต |
|
ค่าใช้จ่าย
ค่าเล่าเรียนภาคการศึกษาละ 19,000 บาท
ค่าธรรมเนียมภาคการศึกษาละ 14,000 บาท
แบบการสอน เป็นการศึกษาทางไกลผ่านระบบเครือข่าย
( อาจมีการสัมมนาพร้อมบรรยายพิเศษในช่วงสัปดาห์ที่ 5 และ 10 ของภาคการศึกษา )
การวัดผลและการสำเร็จการศึกษาการประเมินผลรายวิชาใช้สัญลักษณ์ A B+ B C+ C D+ D และ F
ส่วนวิทยานิพนธ์ใช้ ดีมาก ดี ผ่าน และตก |
|
|
|
|
|